วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีบำรุงรักษา Notebook & Computer

PPCC Trick

เสนอวิธีบำรุงรักษา Notebook & Computer
โดยทีม Technical & Support ประจำ PPCC ค่ะ
นอกจากทีมนี้จะดูแลด้าน IT ทั้งหมดใน PPCC รวมไปถึงลูกค้าแล้ว
ก็มักจะมีความรู้ เพื่อให้สามารถดูแลเครื่องมือของตัวเองในเบื้องต้นได้อีกด้วย
พวกเขาเรียกตัวเองว่า...ทีมงานคุณตะพาบ ดังนั้น จึงขอเรียก Trick นี้ว่า

"วิธีบำรุงรักษา Notebook & Computer ฉบับทีมงาน คุณตะพาบ"


1.ความสะอาด เช็ดทำความสะอาดทั่วทั้งเครื่องด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์และน้ำยาทำความสะอาด ความถี่เดือนละครั้ง




2.ความร้อน หากใช้งานในที่ๆไม่มีแอร์นานๆให้หาฐานรองที่มีพัดลมซื้อหาได้ทั่วไปตามร้านขายอุปกรณ์ IT


3.แบตเตอร์รี่ ไม่ควรเสียบชาร์จแบตตลอดควรใช้ให้แบตบ้างเพื่อยืดอายุการใช้งาน ความถี่อาทิตย์ละครั้ง




4.Windows


4.1 Desktop ไม่ควรเก็บเอกสารหรือไฟล์ใหญ่ๆบนหน้าจอเพราะนอกจากจะเสี่ยงเรื่องข้อมูลหายแล้วยังทำให้ Windows ทำงานช้าลงอีกด้วย   



4.2 Disk Cleanup
วิธีการ คลิกขวาที่ Drive : C >Properties>General Tab>Disk Cleanup >Select Check Box All>OK

4.3 Defragment Disk เป็นการจัดเรียงข้อมูลใหม่ให้ใกล้กันเพื่อการอ่านข้อมูลของ Harddisk รวดเร็วยิ่งขึ้น ความถี่เดือนละครั้ง
วิธีการ คลิกขวาที่ Drive : C >Properties>Tools Tab>Defragment now…>Select Drive C or D>Defragment Disk

4.4 Virus
(4.4.1) ควรหมั่น Scan Virus อย่างน้อยสองอาทิตย์ครั้งทั้ง Drive C,และ D


(4.4.2) Flash drive ควร Scan Virus ก่อนเปิดทุกครั้ง

(4.4.3) หลีกเลี่ยงการเข้าเวปที่เสี่ยงติดไวรัสหรือมัลแวร์ เช่น เว็บลามก,โหลดโปรแกรมฟรี,ดูหนังฟรี,เวปข่าวที่ไม่รู้จัก

5. ข้อมูลหรือเอกสารสำคัญ ควรมี Backup ไว้เพราะหาก Hard disk เสียจะยากต่อการกู้คืนและอาจกูไม่ได้ 100%
ทุกวันนี้การใช้ Notebook & Computer เป็นชีวิตประจำวันคนทำงานไปแล้ว
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านได้บ้างนะคะ

ติดตาม PPCC Trick ดีๆ มีประโยชน์ ได้ที่ https://web.facebook.com/ppcc.co.th/


***********************************

Freeing Your Business, Enjoying Your Work, Enriching Your Life
Premier Professional Consulting Co., Ltd. ( PPCC )
บริษัท พรีเมียร์ โปรเฟสชั่นนัล คอนซัลติ้ง จำกัด
Tel : +66 2 325 1034-8
Mobile : +66 94 554 4498, +66 86 325 6892
e-mail : sales@ppcc.co.th
https://web.facebook.com/ppcc.co.th/

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

3 วิธี ลดปัญหาการต่อต้าน โครงการ ERP

หลายๆองค์กรมีปัญหาในการขึ้นระบบ ERP โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักมากที่สุด คือ คน
เนื่องจากการขึ้นระบบ ERP นั้น สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องหลักๆ คือ ระบบ กับ คน
ดังนั้นเราไม่สามารถมองข้ามสิ่งนี้ได้

ตอนที่ผู้เขียนเข้ามาทำงานในวงการนี้ใหม่ๆ ยังมีความคิดเดิมๆ ว่าการที่บริษัทจะทำโครงการอะไรขึ้นมานั้น เจ้าของ หรือ ผู้บริหารระดับสูง ก็สั่งการให้คนเดินตาม เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

แต่พอเริ่มเข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น เริ่มได้เจอลูกค้าหลากหลาย กลับพบว่า คน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการสำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จ
หากเจ้าของ หรือผู้บริหาร มีโครงการขึ้นมา แล้วไม่มีคนเดินตาม โครงการนั้นก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโครงการนั้นๆ จะต้องใช้ความร่วมมือร่วมแรงจากคนหลายๆคน

อย่างการขึ้นระบบ ERP นั้น ไม่ได้ใช้แค่ความร่วมมือร่วมแรงในช่วงที่กำลังขึ้นระบบเท่านั้น แต่หลังจากมีระบบที่ใช้งานได้แล้ว การใช้ระบบในการทำงานยิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้บริหารหลายๆองค์กรที่ผู้เขียนเคยได้พูดคุยนั้น บางท่านบอกว่า ระบบไม่สามารถใช้งานจริงได้...จริงๆแล้วอาจจะต้องตั้งโจทย์เพิ่ม ว่า ระบบใช้งานไม่ได้ หรือ คนไม่ยอมใช้ระบบ


การที่จะให้คนที่เขาทำงานปกติอยู่ ต้องมาเปลี่ยนแปลง ยิ่งต้องรู้ว่าตอนกำลังขึ้นระบบเป็นเรื่องที่ต้องเหนื่อยเพิ่มอีกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย
คนเรามักจะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแถมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ช่วงแรกนั้น ต้องเรียนรู้เพิ่มอีกนั้นบอกเลยค่ะว่าต้องใส่ใจอย่างมาก แล้วเราจะทำอย่างไรดี...เริ่มต้นง่ายๆ 3 วิธี ที่จะช่วยปูทางให้โครงการเดินต่อได้สะดวกขึ้น


1. ให้พนักงานทุกส่วน ทุกระดับ ได้รับรู้โครงการร่วมกัน

หลังจากระดับผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายต่างๆ ได้คัดเลือกระบบ ERP และ Implementer แล้วนั้น ควรมีการให้ทุกฝ่าย ทุกระดับ ทุกระดับในที่นี้ เรียกได้ว่า ทุกระดับจริงๆนะคะ ให้ทุกคนเข้ามารับรู้ว่า ตอนนี้บริษัทกำลังจะทำอะไร ช่วงระหว่างทำต้องมีผลกระทบอย่างไรบ้าง และที่สำคัญหลังจากทำสำเร็จนั้น จะได้อะไร

มีบริษัทที่รู้จัก ผู้บริหาร บอกไว้เลยว่า ทำไมต้องหา ERP ช่วงที่ทำต้องเจอกับอะไรบ้าง ต้องทำอะไรบ้าง ต้องเหนื่อยอย่างไรบ้าง แต่หลังจากขึ้นระบบได้ ระบบสามารถใช้งานได้จริงแล้ว จะได้อะไร
นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมมากๆ เพราะทุกวันนี้ผู้เขียนเห็นเลยว่า ทุกฝ่ายมีความตั้งใจอยากที่จะช่วยกันทำให้สำเร็จ แม้ว่าจะรู้ว่าต้องเหนื่อย กลับยิ่งเป็นแรงว่า ดังนั้นต้องยิ่งตั้งใจมากขึ้นเพื่อลดช่วงเวลาที่ต้องเหนื่อยลง รีบทำให้สำเร็จ เพื่ออนาคต แค่นี้ก็ครึ้กครื้นตั้งแต่เริ่มแล้วล่ะค่ะ

การทำเช่นนี้ ทุกคนรู้ว่าทำไมต้องทำ ระหว่างทำต้องเจอและเตรียมรับมือกับอะไร หลังจากทำสำเร็จแล้ว จะได้อะไร ทุกคนมีแนวทางและเป้าหมายเดียวกันในการเดินไปข้างหน้า

แน่นอน ไม่ค่อยมีใครชอบความเปลี่ยนแปลงหรอกค่ะ แต่ถ้าได้รู้ว่า ทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร ถ้าเห็นแล้วว่ามันคุ้ม...ทำไมจะไม่ทำล่ะคะ


2. ให้พนักงานทุกส่วน ทุกระดับ ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรก

หลังจากภายในมีการรับรู้แล้วว่า บริษัทกำลังจะทำอะไรแล้วนั้น ตั้งแต่เริ่มก็จะมีการจัดประชุม แนะนำ ทีมวางระบบ ที่จะเข้าไปทำงาน แนะนำระบบโดยรวม ทุกคนควรได้เข้ามารับรู้ ไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่งกับโครงการตั้งแต่เริ่ม

ลองนึกภาพตามนะคะ สมมุติว่าเราคือพนักงานคนนึง
- พนักงานเห็นว่า มีทีมจากข้างนอกเข้ามาในบริษัท ระดับหัวหน้าเข้าห้องประชุมไป แล้วทีมนั้นก็กลับ...ใคร? มาทำอะไร? มันคืออะไร? แล้วหัวหน้าก็เรียกเราไปบอกว่า ต้องทำอะไรบ้าง ไม่รู้ ไม่เข้าใจ เหนื่อย แล้วทำไมต้องทำล่ะ...วันต่อมา ทีมนั้นเข้ามาอีกแล้ว...เฮ้อ...เหนื่อยอีกแล้วสิเรา

- มีทีมจากข้างนอกเข้ามา ทุกคนได้เข้าไปทำความรู้จัก มาแนะนำตัว มาบอกว่าระบบนี้คืออะไร เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง...แต่นี่คือสิ่งที่ที่เราเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนั้น หัวหน้าบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง...อ๋อ เรื่องที่เราได้เข้าประชุมด้วยวันนั้นนี่เอง...วันต่อมา ทีมนั้นเข้ามาอีก เข้าใจแล้วว่าพวกเขาเข้ามาทำไม แล้วเราต้องเตรียมอะไรบ้างนะ

ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย แต่ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่งกับโครงการนี้ตั้งแต่ต้น การที่ได้เข้าร่วมและรับรู้ ก็จะมีความเป็นส่วนหนึ่งไปด้วยอัตโนมัติค่ะ

นอกเหนือจากนี้ ถ้าผู้บริหารจะมีรางวัล หรือแรงจูงใจให้กับทีมงาน ก็ลองพิจารณาดูได้นะคะ เมื่อเทียบกับผลตอบรับที่จะได้ ยังไงก็คุ้มค่าค่ะ

3. ให้โอกาส ให้พื้นที่ ทุกคนได้คิด ได้ถาม ได้ออกความเห็น
เป็นที่รู้กันดีว่า คนจะถาม หรือ ออกความเห็นในห้องประชุม โดยเฉพาะจากพนักงานทั่วไปนั้น น้อยมาก ดังนั้นถ้ามีคนต้องการสอบถาม หรือต้องการออกความเห็น ไม่ว่าจะเป็นคนระดับไหนก็ตาม นั่นถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เคยเป็นหรือเปล่าคะ ถ้าเราไม่สนใจเราก็จะฟังเฉยๆ แต่ถ้าเราสนใจเราจะตั้งใจฟังแล้วอยากรู้อยากเห็น

การที่พนักงานเริ่มมีคำถาม นั่นเราก็จะสามารถตีความได้ว่า เขาสนใจ แล้วยิ่งถ้าเขาออกความคิดเห็น นั่นแสดงว่าเขาเริ่มมีความเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการแล้ว ไม่ว่าความเห็นนั้นจะออกมาในเชิงลบ หรือบวก ก็ตาม เพราะถ้าเขาไม่ได้รู้สึกอะไรเลย นั่นอาจหมายถึงว่า เขาไม่คิดว่าเรื่องนี้มันมีอะไรเกี่ยวข้องกับเขาทั้งสิ้น

หรือจริงๆแล้วหลายคนก็มีความสนใจอยู่แต่ ไม่กล้า ถามหรือออกความเห็น นั่นสามารถให้พื้นที่ สอบถามได้ว่าเขามีคำถามหรือต้องการออกความเห็นหรือไม่ คำถามและความคิดเห็นของพนักงาน เป็นสิ่งที่น่ายินดีนะคะ 

แถมค่ะ
ถ้าการเริ่มต้นได้เริ่มไปแล้ว? ไม่ต้องกังวลนะคะ ทำตอนนี้ก็ยังทันค่ะ
ผู้เขียนเองได้มีโอกาสได้คุยกับหัวหน้างานท่านหนึ่ง
ท่านบอกเลยว่า ตอนแรกท่านเองก็ไม่รู้เรื่องเลยว่าจะต้องทำอะไร
ผู้บริหารระดับสูงสั่งการลงมาเลยว่าต้องใช้ระบบนี้
แต่ท่านทราบอย่างเดียวว่าต้องทำให้สำเร็จ ท่านจึงเริ่มดำเนินการตามขั้นตอน...

แต่ระหว่างนั้น พนักงานต่างๆที่ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรเลยตั้งแต่แรก
ก็ทำตามคำสั่ง ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง คิดว่าไม่ทำบางอย่างก็ไม่เกิดผลกระทบอะไร
จนกระทั่งโครงการแทบจะไม่เดินไปข้างหน้าแล้ว ท่านบอกเลยว่าแบบนี้มันไม่ได้แล้ว

ทันทีที่เริ่มมองเห็นปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ท่านเรียกประชุมรวม
แล้วเริ่มอธิบาย ชี้แจงโครงการให้ทุกคนรับทราบ ตามข้อ 1 อีกครั้ง
หลังจากนั้น ก็ดำเนินการตามข้อ 2 มาเรื่อยๆ จนกระทั่ง...
เกิดข้อ 3 ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการจริงๆ ทั้งถาม ทั้งออกความเห็น

ทุกวันนี้ ท่านเองที่เป็นหัวหน้างาน ยังคงให้พนักงานได้มีความเห็น ได้คิดเอง
 ระบบสามารถใช้งานได้เต็มที่ และปัจจุบันองค์กรนี้ได้ใช้ประโยชน์จาก ERP อย่างแท้จริง
จะเห็นได้ว่าการที่โครงการเกือบไม่เดินไปข้างหน้า
หลักๆเลยคือมาจาก คน ที่จะร่วมเดินทางไปด้วยกัน

ที่สำคัญ การที่ระบบ ERP สามารถใช้งานได้
และความใส่ใจเห็นความสำคัญของพนักงานทุกส่วน ทุกระดับนั้น
ส่งผลให้พัฒนาบุคลากรให้กับองค์กรได้อย่างมากอีกด้วย...

ถ้าอยากรู้ว่า ระบบ ERP สามารถพัฒนาบุคลากร ได้อย่างไร...
จะมาเล่าในตอนต่อไป โปรดติดตามนะคะ


ไม่ว่าโครงการจะดีแค่ไหน ระบบจะตอบโจทย์ อย่างไรก็ตาม ถ้าคนไม่ร่วมด้วย ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ

เรือดีแค่ไหน ถ้าไม่มีคนพาย ก็ไปไม่ถึงฝั่ง



***********************************

Freeing Your Business, Enjoying Your Work, Enriching Your Life
Premier Professional Consulting Co., Ltd. ( PPCC )
บริษัท พรีเมียร์ โปรเฟสชั่นนัล คอนซัลติ้ง จำกัด

Tel : +66 2 325 1034-8
Mobile : +66 94 554 4498, +66 86 325 6892
e-mail : sales@ppcc.co.th

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

แอบนินทาเจ้านาย ตอนที่ 4






นี่พรางตัวแล้วนะ


สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาอวยเจ้านาย
อ่ะ...ฝนจะตกไหมนะเนี่ย ปกติว่างไม่ได้ต้องนินทา
วันนี้จะมาอวยกันซะอย่างงั้น

เอาจริงๆมันก็ขัดนิสัยลูกน้องจอมนินทาอย่างผู้เขียนมากค่ะ
แต่คราวนี้คือ มันจะเป็นอย่างอื่นไปมิได้ นอกจากอวยนะ

เอ...จะว่าไป เวลาที่เราพูดอะไรถึงใครลับหลัง
ไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี ก็เรียกว่า นินทาหมดนี่นา
เออ...ไม่หลุดคอนเซ็ปนะคะ ฮ่าาๆๆๆ


เริ่มจาก ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษน์พี่เปี่ยมค่ะ ด้วย PPCC มีการเริ่มต้นใหม่ๆ หลายอย่างในปี 2016 นี้
ซึ่งนั่นรวมถึง การปรับปรุง Website ให้ Update ทันสมัยขึ้น และมีเรื่องของการให้สัมภาษน์ รายการออนไลน์ และรายการทีวี

ที่ผ่านมา ใน Web เราแค่บอกว่า เราเปิดปีไหน ทำอะไร มีบริการอะไรบ้าง ผู้เขียนคิดว่า ถ้าเราจะปรับปรุงหน้าตาของ Website แล้ว เราน่าจะใส่ความเป็นตัวเราเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น ส่วนของ พี่เปี่ยมและ ครอบครัวPPCC

เมื่อออกความเห็นไปเช่นนั้นแล้ว...ดังนั้น...ผู้เขียนจึงได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการว่า

"ก็ไปเขียนมาเด่ะ" (ทางการมาก)

งานมันเข้าผู้เขียนก็ตอนนี้แหละ...ข้อมูลที่เราต้องใช้ในการเขียน คือ ประวัติผู้บริหาร วิศัยทัศน์ ที่มา PPCC บลาๆๆ รวมถึงในการให้สัมภาษน์ในรายการออนไลน์ และ ทีวี พี่เปี่ยมเองที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็กังวลจะพูดผิดพูดถูก สิ่งที่ผู้เขียนจะทำให้ได้ คือ การเขียนเรียบเรียงบทเริ่มต้นให้ก่อน ซึ่งนั่นล้วนแล้วแต่จะต้องเอามาจากความจริงล้วนๆ

คือ...ผู้เขียนมโนประวัติ วิศัยทัศน์ แนวคิดต่างๆของท่านมิได้นะเจ้าคะ หลังจากขอคิวทองมาได้ จึงได้มีการสัมภาษน์ดังกล่าว


ถามว่าทำงานกันมาเป็นปี ไม่รู้ที่มาที่ไปหรอ?
ก็ฟังๆ เหมือนเวลาผู้ใหญ่เล่าเรื่องความหลังแหละค่ะ แต่มันจะไม่เกี่ยวเนื่องกัน เวลาแกนึกตอนไหนได้แกก็จะเล่า นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ได้นั่งคุยกันจริงจัง ตั้งแต่เริ่ม จนปัจจุบัน รวมถึง ได้ให้คำถามต่อว่า ในการตัดสินใจ การทำ หรือ ไม่ทำ แต่ละเรื่อง มีความคิดอย่างไร

คือบอกตรงๆนะคะ ทำงานกับพี่เปี่ยมมา หลายครั้งที่มีความรู้สึกนะ ว่า เฮ้ย...ผู้หญิงตัวเล็กๆ เดินห้าวๆ เสียงแหลมๆ คนนี้ ทำไมถึงบริหารบริษัทได้แบบนี้ แม้ว่าบริษัทเราจะไม่ได้ใหญ่ แต่ความรับผิดชอบต่อลูกค้าเราใหญ่มากๆ คือ ผู้เขียนมักจะมีอารมณ์ร่วมเสมอ อย่างเวลาที่พี่เปี่ยมต้องเผชิญปัญหาต่างๆ เคยมีความคิดผุดขึ้นในหัวทันทีว่า "ทำไม ผู้หญิงตัวเล็กๆคนเดียว ถึงต้องรับผิดชอบอะไรที่ใหญ่ขนาดนี้" 

ยิ่งได้คุยกันรอบนี้ บางอย่างเคยฟังแล้ว บางอย่างก็ใหม่ ไม่เคยได้ยินเลย บางอย่างที่เราสงสัยความคิดของพี่เปี่ยม เราก็ได้โอกาสถามมันวันสัมภาษน์นี่แหละ คือ 2 ชั่วโมงผ่านไป ถ้าไม่เกรงใจที่ว่า ขนาดและน้ำหนักตัวผู้เขียน อาจทำให้พี่เปี่ยมกระดูกหักได้ นี่คงกระโดดกอดไปแล้ว

เอ๊ะ...สรุปว่าผู้เขียนเล่าหรือยัง ว่าที่สัมภาษน์ไป มีอะไรบ้าง? ฮ่าๆๆ
คือ 2 ชั่วโมง แถมต่อด้วยนั่งรถไปกินข้าว นั่งฟังระหว่างทาง และคุยกันต่อที่ร้านข้าวอีก นี่ยังไม่นับเวลาที่ผ่านวันนั้นมาแล้ว พี่ท่านเกิดนึกได้ขึ้นมา แล้วเดินมาเล่าเพิ่มอีกนะ คือ น่าจะรวมเล่มได้ทีเดียว เพราะฟังตั้งแต่ เกิดมาจนปัจจุบัน...กี่ปีน๊าาา ไม่พูดดีกว่า ฮ่าๆๆ

ยกตัวอย่าง 1 เรื่อง ก็แล้วกัน เป็นประโยคที่ผู้เขียนเอาไปโพสใน Facebook Fanpage ของ PPCC ก่อนหน้าจะเขียนบทนี้ไม่กี่วันเอง


Human is the most of valuable asset. คน เป็นทรัพย์สิน ที่มีค่าที่สุด
มันเป็นอะไรที่ชัดเจนมากในเรื่องของการบริหารของพี่เปี่ยม ที่จะเน้นเรื่องของคน เพราะมุมมองนี้ พี่เปี่ยมใช้เวลาส่วนนี้มากๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้คำปรึกษาทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว การพัฒนาทั้งด้านทักษะความรู้ความสามารถ และพัฒนาด้านความคิด รวมไปถึงให้คำปรึกษา และเปิดโอกาสเรื่องของความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ไม่ว่าจะจาก PPCC และ นอกเหนือจากงานประจำด้วย พี่เปี่ยมคิดเผื่อหมด ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า คนที่ได้รับจะมองเห็นหรือเปล่า ไม่ว่าจะพัฒนาด้านไหน ทั้งเรื่องงาน เรื่องชีวิต คนได้รับประโยชน์คือ คนรับเอง 100% ที่เหลือสำหรับ PPCC คือ ผลพลอยได้ ซึ่งนั่นเป็นอะไรที่พี่เปี่ยมเต็มใจอย่างยิ่ง

พี่เปี่ยมมีความเชื่อที่ว่า อย่างอื่น จะเครื่องจักร สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ นั้นหาสิ่งที่ทดแทนได้
แต่คน...ไม่มีอะไรจะมาทดแทนได้ทั้งนั้น ผู้เขียนหมายถึง พี่เปี่ยมเน้นไปที่ตัวบุคคลจริงๆ ไม่ได้มองแค่ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน ที่จะหาคนมาแทนได้เท่านั้นนะคะ

ความยากของการให้ความสำคัญ และให้เวลากับ คน เป็นอะไรที่ยากกว่า เน้นผลลัพธ์มากๆ
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าผู้เขียนเดินไปถามเรื่องเกี่ยวกับงาน คิดว่าทำอย่างไรง่ายกว่ากันคะ?
1. บอกคำตอบ แล้วไปทำซะ
2. ถามกลับ เพื่อให้เราได้คิด และพยายามหาทางออกให้ได้ด้วยตัวเอง โดยคอยแนะนำข้างๆ
ข้อ 1 ใช้เวลาแป๊บเดียวค่ะ แถมได้งานทันทีเลย
ส่วนข้อ 2 ใช้เวลาเยอะมาก ใช้พลังในการชี้แนะเยอะมาก กว่าจะคิดได้เอง อาจมีการขัดแย้ง ไม่พอใจเกิดขึ้นอีก สารพัดค่ะ ผลงานก็ยังไม่เกิดช้าอีกต่างหาก

แต่ 2 ข้อนี้ต่างกันยังไงคะ?
ข้อ 1 เน้นผลลัพธ์ แต่คนไม่ได้ฝึกพัฒนาด้วยตัวเองได้อย่างยั่งยืน เป็นหุ่นยนต์ หรือแค่อาหารตามสั่ง
แต่ข้อ 2 เน้นพัฒนาคน คนได้ฝึกความคิด ได้พยายามหาทางด้วยตัวเองโดยมีพี่เลี้ยงคอยชี้แนะ ผลลัพธ์อาจจะได้ช้าหน่อย แต่คนก็ค่อยๆได้พัฒนาตัวเอง พัฒนาความคิด ได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น

นี่แค่ตัวอย่างง่ายๆค่ะ จริงๆมีอีกเยอะ ที่พี่เปี่ยมทุ่มเททั้ง แรง ทุน และ เวลา ให้กับ คนในครอบครัว PPCC


เฮ้... อะไรเนี่ยยย พอได้อวยทีก็ยาวเชียว คราวหน้าจัดนินทาเม๊ามอยดีกว่า
เราจะหลุดคอนเซ็ป พนักงานจอมนินทาไม่ได้ โปรดติดตามตอนต่อไปค่า
มีเรื่องเม๊า บอกเลย หุหุหุ


อ่านย้อนหลัง



 ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤

❤ We free business owner and team by systemizing your business  

Premier Professional Consulting Co., Ltd. ( PPCC )
บริษัท พรีเมียร์ โปรเฟสชั่นนัล คอนซัลติ้ง จำกัด

Tel : +66 2 325 1034-8
Mobile : +66 94 554 4498, +66 86 325 6892
e-mail : sales@ppcc.co.th

Website : http://www.ppcc.co.th/
FB page : https://www.facebook.com/ppcc.co.th/


วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

แอบนินทาเจ้านาย ตอนที่ 3


พี่เปี่ยมเป็นผู้หญิงที่ เซลฟี่ ไม่เป็น
ย้ำค่ะว่า "ไม่เป็น" เพิ่งจะมาหัดเซลฟี่เมื่อไม่นานมานี้
ย้ำอีกทีค่ะว่า "เพิ่งหัด" คือการเซลฟี่นี่ต้องหัดด้วยนะคะ

                                     ผู้เขียน : "มุมสูงค่ะ"
                                     พี่เปี่ยม : "มันยากอ่ะ"
                                     ผู้เขียน : "ก็แค่ยกมือถือขึ้นมาอีกหน่อยค่ะ"
                                     พี่เปี่ยม : "โอ๊ย ยาก ทำไม่เป็น"
                                     ผู้เขียน : (-.,-")

แล้วไงคะ เจ้าแม่เซลฟี่(สวยกว่าตัวจริงเสมอ) อย่างผู้เขียน
ก็ทนไมไหว ต้องบอกจนทำให้เป็นให้ยกมือถือตรงกับหน้าได้นั่นล่ะค่ะ
โอเค มุมสูงไม่ได้ แค่ไม่มุมต่ำก็ดีใจแล้วค่ะ ฮ่าๆๆ

พี่เปี่ยมเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ รักสวยรักงามปกติในแบบของเธอค่ะ
ซึ่งพี่เปี่ยมดูแลตัวเองดีมากนะคะ ผิวพรรณนี่ดี๊ดี ผู้เขียนนี่ผักชีโรยหน้าค่ะ
สำหรับพี่เปี่ยม ต้องให้ดีจริงอะไรจริง เรียกได้ว่าสปาขัดผิวอะไรเอาหมด
แต่จะให้มาถ่ายรูป เก็กท่านั้นท่านี้ โอ๊ยยย...ทำไม่ได้หรอกค๊าาา

พี่เปี่ยมเป็นคนทำงานเยอะมากค่ะ
ยิ่งงานเบื้องหลังยิ่งเยอะ และเป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจมากๆ
การทำธุรกิจของพี่เปี่ยม ผู้เขียนคิดว่าเหนื่อยกว่าหลายๆคนค่ะ

เพราะอะไรน่ะหรอ?
พี่เปี่ยมเป็นคนที่คิดเยอะมาก หลายมุมมาก และอิงความจริงมาก
ดังนั้น...เรื่องของโลกมายา พี่ท่านไม่ถนัดและไม่เข้าใจเอาเสียเลย
ดังนั้น ก็เป็นหน้าที่ของผู้เขียนค่ะ ที่จะทำอย่างไรให้การตลาดเป็นเรื่องจริง
แต่ต้องไม่อิงความจริงจนน่าเบื่อเกินไป เพราะ PPCC เป็นเชิงวิชาการซะส่วนใหญ่

เห็นพี่เปี่ยมดูเป็นสาวคล่องแคล่ว เก่ง ทันสมัย แบบนี้
v
V

พี่เปี่ยมเป็นผู้หญิงที่สามารถทำงานได้ทั้งวี่ทั้งวันโดยไม่รู้สึกเบื่อค่ะ
เวลาที่ชวนอยู่ทำงานด้วยกันตอนเย็นกับทีม...คนอื่นๆล้ากันหมดแล้ว
แต่พี่เปี่ยม "อะไร จะกลับแล้วหรอ ขอทำอีกหน่อยนะ ยังสนุกอยู่เลย"
ค่ะ คุณพี่คะ นี่งานนะคะ ไม่ใช่สวนสนุก ปัดโถ่ววววว
ใช่แล้วค่ะ...พี่เปี่ยมรักการทำงาน

หลังๆมา พี่เปี่ยมได้ไปสัมมนาต่างๆ ทำให้เปิดมุมมองขึ้นได้อีกอย่าง
คือต้อง "ไม่ทำ" บ้าง แล้วให้พนักงานทำ รับผิดชอบ เป็นเจ้าของงานเอง
มันดูเหมือนน่าจะสบายใช่มั้ยคะ...ดีสิ จะได้ทำงานน้อยลง
แต่สำหรับพี่เปี่ยมแล้ว มันเป็นอะไรที่ยากมาก มันฝืนตัวเองมาก
ด้วยความเป็นพี่เปี่ยม ก็ยังคอยต้องห่วง ต้องทำเองอยู่ตลอด
แต่ก็ต้องยอม ด้วยคำที่บอกว่า "ให้โอกาสพวกเค้า ได้มีพื้นที่โตขึ้น"

นั่นล่ะค่ะ เป็นที่มาส่วนหนึ่ง ที่ทำให้งาน Marketing อยู่ในมือผู้เขียน
นอกเหนือจากงานอื่นๆ ผู้เขียนก็เริ่มหันมามองเจ้านาย
หึ หึ หึ (หัวเราะแบบเป็นต่อ)
พี่ต้องทำอะไรนะ อัดเสียง ถ่ายรูป ถ่ายคลิปวีดีโอ
เกิดอะไรขึ้นน่ะหรอคะ...โวยวายจ้าาา
เตรียมชุด ปรับลุคเพิ่มขึ้นอีก พี่เคยปรับแล้วนะ บลาๆๆๆ

"งานนี้ให้เป็นเจ้าของงานแล้วนะคะ...นี่ทำเพื่อบริษัทนะคะ"
พี่เปี่ยมก็เลยต้อง ยอมแต่โดยดี ไม่ว่าจะเลี่ยงยังไง ก็ไม่พ้น
ทำงานเบื้องหลังมาเยอะแล้ว ทำไมจะให้คนอื่นเค้ารู้บ้างไม่ได้ล่ะ
มีเจ้านายสวยเก่ง ก็ต้องโชว์ จริงป๊ะ

แล้วพี่ท่านก็ปรับโหมดให้ตัวเองสนุกไปกับมัน
แม้ในระหว่างทาง อาจจะงอแงบ้าง อะไรบ้าง ก็ตาม
ลองมาดูนะคะ ว่าสนุกได้ขนาดไหน




น่าร๊ากกกกกกกกกกก (>v<)//

ไปดีกว่า ฟิ้วววววววว....

อ่าว...ทำไมอยู่ดีๆ ก็มาจบซะดื้อๆแบบนั้นล่ะ?

ตามประสาคนกำลังนินทา...ต้องรีบมารีบไปค่ะ

ไปจริงๆแล้วนะคะ บ๊ายบาย
(กระซิบกระซาบ : เจอกันตอนหน้านะคะ อิอิ)


อ่านตอนก่อนหน้านี้ได้ที่

แอบนินทาเจ้านาย ตอนที่ 1





❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤

☎☎☎ ข้อมูลบริษัท ☎☎☎

Premier Professional Consulting Co., Ltd. ( PPCC )
บริษัท พรีเมียร์ โปรเฟสชั่นนัล คอนซัลติ้ง จำกัด

Tel : +66 2 325 1034-8
Mobile : +66 94 554 4498, +66 86 325 6892

Fax : +66 2 316 8432 (Auto), 66 2316 9321 (Manual) 
e-mail : sales@ppcc.co.th

Website : http://www.ppcc.co.th/
FB page : https://www.facebook.com/ppcc.co.th/


:* :* :* บริการของเรา :* :* :*

เราเป็นผู้ให้บริการด้าน ERP Software มาเป็นเวลานาน พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญกว่าสิบปี

Software Solutions

Enterprise Resource Planning (ERP)
___"Infor CloudSuite™ Industrial (SyteLine)"___

Industry
Automotive
Plastic Injection
Electronics
Printing & Packaging
Industrial Equipment

Our Services
Consulting Service
Solution Enhancement
Outsource Support & Services Package
Sever Maintenance
Application Maintenance
Customization Maintenance

PPCC เราเป็น ☀Infor Gold Channel Partner☀

และเป็นทีมงาน "Your One-Stop ERP Solutions" ซึ่งยึดหลักการที่ว่า

BE SINCERE

BE RESPONSIBLE

BE SUCCESSFUL


สมัครเข้ากลุ่ม

"SC(Thailand) : Infor CloudSuite Industry (SyteLine Community Thailand) ERP"
เพื่อพูดคุย แชร์ประสบการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับ ERP SyteLine

(เฉพาะผู้ที่ใช้ Syteline ERP อยู่ หรือกำลัง Implement) :

วิธีการเข้ากลุ่ม
1. กรุณากรอกข้อมูล https://docs.google.com/forms/d/1DA4X4EDWQdDPEo-S-06dnDoHb_eXUP3lEsdFS8tC7sk/viewform?usp=send_form

2. กดสมัคร https://www.facebook.com/groups/1429586923989030/ 

3. รอการอนุมัติ



#SyteLine #PPCC #ERP #Cloud #InforPartner #Infor #อีอาร์พี







วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Name User VS Concurrent User


ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า...

แล้วหากมีจำนวน User เยอะๆ
แต่ว่าแต่ละคนใช้งานจริงๆแค่นิดเดียว ช่วงเวลาเดียว หรือหน้าจอเดียว
แล้วต้องมาจ่ายค่า Licence เป็นรายคนแบบนี้จะทำอย่างไรได้บ้าง

สำหรับบทความนี้ จึงจะมาอธิบายถึง
ประเภทของ User License (ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ของผู้ใช้งาน)



โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Name User
2. Concurrent User

ลองมาดูลักษณะในการใช้งาน ของทั้ง 2 ประเภทดูนะคะ

1. Name User เป็นการสร้างชื่อผู้ใช้งาน เท่าจำนวน User License ที่ซื้อมา เช่น ซื้อ 10 Name User ก็จะสามารถสร้างชื่อผู้ใช้งานได้ 10 User ซึ่งจำนวนผู้ใช้งานจริงจะเป็น 10 คนเช่นกัน โดยที่ทั้ง 10 คนนี้ สามารถใช้งานพร้อมกันได้

2. Concurrent User เป็นการสร้างชื่อผู้ใช้งานได้ไม่จำกัด แต่จะสามารถเข้าใชงานได้พร้อมกัน เท่าจำนวน User License ที่ซื้อมา เช่น ซื้อ 10 Concurrent User ก็จะสามารถสร้างชื่อผู้ใช้งานเท่าไหร่ก็ได้ จะ 10, 20 หรือ 100 ชื่อ ก็สามารถทำได้ แต่จะใช้งานพร้อมๆกันได้ 10 User เท่านั้น

พูดถึงเรื่อง ราคา
ด้วยความยืดหยุ่นที่มากกว่า ทำให้ Concurrent User มีราคาแพงกว่า Name User ทั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับลักษณะในการใช้งาน ลองเปรียบเทียบดูค่ะว่า แบบไหนคุ้มค่ากว่า

ถึงแม้ว่า Concurrent User จะแพงกว่า แต่ก็ไม่ได้แพงกว่ามากนัก ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่า บริษัทมีการใช้งานลักษณะไหน ใช้พร้อมๆกันเยอะหรือเปล่า ลองเปรียบเทียบดูค่ะว่า แบบไหนคุ้มกว่ากัน บางทีเมื่อเทียบแล้ว อาจจะสามารถซื้อ Concurrent User ได้ถูกกว่าก็ได้

ยกตัวอย่างการเปรียบเทียบเรื่องราคานะคะ
ขอยกตัวเลขง่ายๆ ประมาณนี้นะคะ Name User ราคา 100 บาท Concurrent User ราคา 130 บาท 
เช่น บริษัท มี User (ผู้ใช้งาน) 30 คน และใช้งานพร้อมๆกัน 15 คน 

1. ถ้าซื้อเป็น Name User
จะต้องซื้อ 30 Name User License 
ราคา 30 X 100 = 3,000 บาท

2. ถ้าซื้อเป็น Concurrent User
สามารถซื้อ 15 Concurrent User License ก็เพียงพอแล้ว
ราคา 15 X 130 = 1,950 บาท

แต่ถ้าบริษัท มี User (ผู้ใช้งาน) 30 คน และใช้งานพร้อมๆกัน 30 คน หรือน้อยกว่านี้ไม่มากนัก
ก็ใช้วิธีเปรียบเทียบได้เหมือนกันค่ะ

ถ้าราคาต่างกันมาก ก็ลองดูอนาคตค่ะว่า จะมีการเพิ่มจำนวน User ที่ใช้งานในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วยเวลาอันใกล้นี้หรือเปล่า หากยังไม่มี หรือถ้ามีก็ต้องใช้ช่วงเวลาเดียวกันจริงๆ Name User ก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

แต่ถ้าคิดว่า ในอนาคตคิดว่า จะมีการเพิ่มจำนวน User แต่ใช้ในช่วงเวลาเดียวกันเท่าเดิมนั้น การซื้อแบบ Concurrent User เอาไว้ ก็เป็นทางเลือกทีดีค่ะ เนื่องจากสามารถสร้าง User เพิ่มได้เลย ไม่ต้องซื้อเพิ่มแล้ว

แต่ถ้าหากว่า ถ้าราคา Concurrent User สูงกว่าไม่มากนัก แนะนำให้ใช้เป็น Concurrent User จะยืดหยุ่ด และใช้ประโยชน์ได้มากกว่าค่ะ

หากตอนแรก ซื้อ Name User แล้วมีการขยายกิจการภายหลัง ก็สามารถ Convert เป็น Concurrent User ได้ในอนาคตค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการ Convert เช่นกันนะคะ ลองดูเงื่อนไข หรือให้มีการเสนอราคามาก่อน ค่อยตัดสินใจก็ได้ค่ะ



หมายเหตุ
1. ในตัวอย่าง เป็นการจำลองราคานะคะ เพราะราคาของแต่ละซอฟแวร์ต่างกัน และทั้งนี้ต้องดูเรื่องของการ Implement ด้วย ในนี้ยกขึ้นมาเฉพาะเรื่องของราคา Software License เท่านั้นค่ะ
2. ไม่ใช่ว่า ERP Software ทุกค่าย หรือทุกตัว จะมี User License ให้เลือกทั้ง 2 แบบนะคะ สอบถามให้ดีตั้งแต่ตอนคัดเลือกเลยค่ะว่ามีแบบไหนบ้าง
3. ในการขอให้เสนอราคาเพื่อเปรียบเทียบ ควรเป็นการเสนอราคาด้วย ชนิดของ User License แบบเดียวกัน




❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤ ❤

☎☎☎ ข้อมูลบริษัท ☎☎☎
Premier Professional Consulting Co., Ltd. ( PPCC )
บริษัท พรีเมียร์ โปรเฟสชั่นนัล คอนซัลติ้ง จำกัด
Mobile : +66 86 318 6018, +66 86 325 6891-2
Tel : +66 2 325 1034-8
Fax : +66 2 316 8432 (Auto), 66 2316 9321 (Manual) 
e-mail : sales@ppcc.co.th
Website : http://www.ppcc.co.th/
FB page : https://www.facebook.com/ppcc.co.th/



:* :* :* บริการของเรา :* :* :*
เราเป็นผู้ให้บริการด้าน ERP Software มาเป็นเวลานาน พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญกว่าสิบปี

Software Solutions
 Enterprise Resource Planning (ERP)
___"Infor CloudSuite™ Industrial (SyteLine)"___

Industry
Automotive
Plastic Injection
Electronics
Printing & Packaging
Industrial Equipment

Our Services
Consulting Service
Solution Enhancement
Outsource Support & Services Package
Sever Maintenance
Application Maintenance
Customization Maintenance

PPCC เราเป็น ☀Infor Gold Channel Partner☀
และเป็นทีมงาน "Your One-Stop ERP Solutions" ซึ่งยึดหลักการที่ว่า
BE SINCERE
BE RESPONSIBLE
BE SUCCESSFUL
  

สมัครเข้ากลุ่ม
"SC(Thailand) : Infor CloudSuite Industry (SyteLine Community Thailand) ERP"
 เพื่อพูดคุย แชร์ประสบการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับ ERP SyteLine

(เฉพาะผู้ที่ใช้ Syteline ERP อยู่ หรือกำลัง Implement) :

วิธีการเข้ากลุ่ม
1. กรุณากรอกข้อมูล https://docs.google.com/forms/d/1DA4X4EDWQdDPEo-S-06dnDoHb_eXUP3lEsdFS8tC7sk/viewform?usp=send_form

2. กดสมัคร https://www.facebook.com/groups/1429586923989030/ 

3. รอการอนุมัติ



#SyteLine #PPCC #ERP #Cloud #InforPartner #Infor #อีอาร์พี